ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Nathum Village ตอน หน่อไม้บงหวานบ้านนาทุ่ม (ไผ่บงหวาน)

ถนนเส้น 2113 ทางเข้าหมู่บ้านนาทุ่ม หมู่บ้านนาทุ่ม เป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่ในพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยภูเขา ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีแม่น้ำเล็กๆไหลผ่านสองหมู่บ้าน คือ "แม่น้ำพาน" สิ่งที่ชีวิตที่ก่อเกิดตามริมแม่น้ำมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ "หน่อไม้บงหวาน" หรือ "ไผ่บงหวาน" นอกจากจะรับประทานทั้งหน่อดิบสด ให้รสชาดหวานกรอบแล้ว ต้นไผ่ ยังยึดดินและเป็นแนวกันลมตามธรรมชาติได้ดีอีกด้วย เนื่องจาก "หน่อไม้บงหวาน" หรือ "ไผ่บงหวาน" ของหมู่บ้านนาทุ่ม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยความเหมาสมด้านสภาพแวดล้อมทั้งปวง อันได้แก่ ดิน สารอาหารในดิน ปริมาณน้ำที่เพียงพอ อากาศเย็นสบาตลอดทั้งปี เหล่านี้ ยังผลต่อการเป็นหมู่บ้านหน่อไม้ (ไผ่) บงหวานได้เป็นอย่างดีนั่นเองค่ะ หน่อไม้ไผ่บงหวานดั้งเดิมในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำพาน หมู่บ้านนาทุ่ม ชาวบ้านเพาะพันธุ์ต้นกล้าไผ่บงหวาน เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ดีมาก --------------------------------------------------------------- สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านนาทุ่ม หมู่ 1
โพสต์ล่าสุด

Nathum Village ตอน หมู่บ้านนาทุ่ม-หนามแท่ง เป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์แห่งแรกในจังหวัดเลย

คณะกลุ่มโฮมสเตย์นาทุ่มหนามแท่ง ผู้ก่อตั้ง เจ้าบ้าน ต้อนรับนายอำเภอ หมู่บ้านนาทุ่ม เป็นหมู่บ้านแรกเริ่มของการจัดตั้งโฮมสเตย์ที่แรก ของจังหวัดเลย โดยมีหมู่บ้านหนามแท่งร่วมด้วย โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 หรือ 13 ปีที่แล้ว ครั้งนั้น มีพัมนากรชุมชนและคุณอภิญญา พรมพยัคย์ หรือ คุณอ๋อย ได้เป็นตัวตั้งตัวตีในการก่อตั้งและรวบรวมชาวบ้านให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยเลือกเอาที่ตั้งหมู่บ้านนาทุ่ม หรือหนามแท่ง ซึ่งเป็นหมู่บ้านติดกัน และมีชาวบ้านเข้าร่วมจำนวนหนึ่ง ครั้งแรกโครงการจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในงานบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ซึ่งเป็นเทศกาลประจำปีของอำเภอด่านซ้าย เมื่อถึงวันงาน ที่พักในอำเภอด่านซ้ายมักไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเริ่มเห็นถึงความจำเป็นที่เราจะดัดแปลงบ้านของชาวบ้านให้รองรับนักท่องเที่ยวและเป็นการสร้างรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ โดยจัดทำขึ้น ไม่มุ่งหวังผลกำไร เพียงแต่อยากกระจายจำนวนให้นักท่องเที่ยวได้มีที่พักเพียงพอ และที่สำคัญ ได้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวบ้านและนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ในปัจจุบัน ไม่ได้จัดขึ้นเฉพาะการมาพักช่วงงานเทศก

โรงสีข้าวชุมชน หมู่บ้านนาทุ่ม อ.ด่านซ้าย

โรงสีข้าวชุมชนหมู่บ้านนาทุ่ม หมู่ 11 อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย หมู่บ้านนาทุ่ม วันนี้ขอเสนอ "โรงสีข้าวชุมชน" หมู่บ้านนาทุ่ม มีโรงสีข้าวชุมชน 1 แห่ง ตั้งอยู่บ้านของผู้ช่วยผู้ใ หญ่บ้าน ผู้ที่มีหน้าที่สีข้าวคือหน ึ่งในคณะกรรมการหมู่บ้านหรื อใครว่างๆก็ช่วยกันค่ะ ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านและหม ู่บ้านใกล้เคียงมักจะนำข้าว มาสีที่นี่ค่ะ ชาวบ้านได้ข้าว แต่ชุมชนเราได้แกลบ ข้าวปลาย รำ ในส่วนนี้เราจะนำมาชั่งขายท ี่บ้านผู้ใหญ่บ้าน รายได้ทั้งหมดจะนำเข้ากองทุ นโรงสีข้าวของหมู่บ้านนาทุ่ ม ตัวเลขเพิ่มขึ้นทุกวัน วันละนิดละหน่อย แจกแจงผลประโยชน์ของหมู่บ้า นอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนค่ะ   ตัวอย่างเล้าข้าว หรือ ยุ้งฉาง เก็บข้าวของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านนาทุ่ม  ติดตามกันต่อได้ที่ เฟซบุ๊คแฟนเพจ : หมู่บ้านนาทุ่ม

โรงเรียนบ้านนาทุ่ม อ.ด่านซ้าย จ.เลย ความเกี่ยวเนื่องกับวัดน้อย ในอดีต

ป้ายโรงเรียนบ้านนาทุ่ม โรงเรียนบ้านนาทุ่ม เป็นโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา ในอดีต โรงเรียนนี้ใช้ร่วมกัน 4 หมู่บ้านใกล้เคียงคือ หมู่บ้านนาทุ่ม หมู่บ้านหนามแท่ง หมู่บ้านนาสีเทียน และหมู่บ้านห้วยอ้อย เด็กๆจะต้องเดินเท้ามาเรียน ผ่านเส้นทางลัดเลาะตามหุบเขา เพราะยังไม่มีการคมนาคมที่สะดวกเหมือนในปัจจุบัน สนามหญ้าโรงเรียนบ้านนาทุ่ม คุณยายเล่าว่า ในอดีต ใช้กระดานชนวนกับดินสอไม้ที่ทำจากถ่าน ใช้น้ำและผ้าลบ เวลาเรียนเสร็จ เขียนจบก็ลบออก ที่เหลือก็ต้องใช้วิธีการจำเอา คนสมัยก่อนจึงมีความจำเป็นเลิศ คิดเลขเร็ว ขาดก็แต่ทุนทรัพย์ที่จะเรียนต่อในระดับสูงกว่า ป.4 ค่ะ ชุดนักเรียนก็ใช้เตารีดที่ใส่ถ่านร้อนๆข้างในเพื่อรีดชุดให้เรียบ คุณยายเล่าว่า บางทีรีดไหม้ก็มี พระพุทธรูปประจำต้นโพธิ์ในโรงเรียนบ้านนทุ่ม (วัดเก่า) โรงเรียนบ้านนาทุ่ม ในอดีตเคยเป็นวัดเก่า มีต้นโพธิ์ใหญ่เป็นหลักฐาน มีพระพุทธรูปไม้แกะสลักที่โคน ต้นโพธิ์ สัญนิษฐานว่าที่แห่งนี้ คือ วัดน้อย ในอดีตเมื่อกว่า 400 ปี เพราะมีหนองน้ำสาธารณะคือ "หนองสิม" มีสิมอยู่กลางหนองน้ำ คำว่า "สิม" (สิม สีมา สิมมา พัทธสี

หน่อไม้บงหวาน ของดีของหมู่บ้านนาทุ่ม Sweet Bamboo

หน่อไม้หวาน (Sweet Bamboo) หรือหน่อไม้บงหวาน เป็นพืชเศรษฐกิจประจำหมู่บ้ าน มีรสชาดหวานอันเป็นเอกลักษณ ์โดยธรรมชาติ รับประทานดิบได้เนื่องจากนิ ยมปลูกกันมาช้านาน หน่อไม้บงหวานสามารถเจริญเต ิบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย หลายๆครอบครัวมีพื้นที่ติดแ ม่น้ำสาธารณะประจำหมู่บ้าน จึงจะเห็นต้นไผ่บงหวานเป็นท ิวแถวตามรอยแม่น้ำพานไหลผ่านค่ ะ  หน่อไม้บงหวาน โดยปกติจะมีอายุเฉลี่ย 80 ปี คุณตาเล่าว่าทุกๆ 20 ปี มันจะออกดอกและตาย 1 ครั้ง จากนั้นเมล็ดที่แตกออกจากดอกไผ่เหล่ากอเดิม จะสามารถนำไปเพาะเป็นต้นอ่อนไผ่และมีอายุได้นาน 20 ปี วนเวียนจนครบรอบค่ะ คุณตายังเล่าอีกว่า พอครบอายุ 20 ปีของไผ่ การขยายพันธุ์ไผ่บงหวาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม (เพาะเมล็ด แยกหน่อ ฯลฯ) ถ้าครบรอบแล้วก็จะแห้งตายยกสวนค่ะ ในส่วนของต้นไผ่หมู่บ้านนาทุ่ม คุณตาบอกว่าตั้งแต่เกิดมาก็เห็นตายอยู่ 2 ครั้งเท่านั้น (40 ปีที่ผ่านมา) หน่อไม้บงหวานสด ขุดได้ช่วงหน้าฝน หน่อไม้บงหวาน สีขาว กรอบ หวานตามธรรมชาติ หน่อไม้บงหวานบ้านนาทุ่ม และพื้นที่ใกล้เคียงคือ ติดริมน้ำพาน หรือทางน้ำไหลตามธรรมชาติ (ริมแม่น้ำหมันก็มีปลูกเยอะ) จะเจริญเติ

ต้นกระทุ่ม ที่มาของชื่อหมู่บ้านนาทุ่ม

ต้นกระทุ่ม ต้นกระทุ่ม มีสองสายพันธุ์ คือ กระทุ่มน้ำ และกระทุ่มบก ที่หมู่บ้านนาทุ่ม จากคำบอกเล่าของปูชนียบุคคล ทั้งหลายบอกว่าน่าจะเป็นกระ ทุ่มบก มีขนาดใหญ่มาก ขึ้นกลางท้องนา และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เจ้าของที่นาได้ตัดออก เพราะจะใช้พื้นที่ในการทำกา รเกษตร จึงทำให้ในปัจจุบัน หมู่บ้านนาทุ่ม ไม่ได้มีต้นกระทุ่มใหญ่อยู่ ค่ะ แต่สามารถพบเจอต้นกระทุ่มตา มป่าเขาที่ไกลออกไปจากหมู่บ ้าน  ภาษาบ้านถิ่นเราเรียกว่า ต้นถ่ม ต้นโถ่ม นาโถ่ม 

ประวัติศาสตร์หมู่บ้านจากคำเล่าขานรุ่นสู่รุ่น

เรามาย้อนอดีต ตามหาประวัติศาสตร์ที่ได้ฟังจากคำเล่าขานต่อๆกันมาค่ะ หมู่บ้านนาทุ่ม หมู่ 11 ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย สันนิษฐานว่าถูกก่อตั้งมาแล้วกว่า 400 ปี หลังจากการสร้างพระธาตุศรีสองรักในปีพ.ศ. 2103 พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อ เป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา (สมัยพระมหาจักรพรรดิ) และกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือ เวียงจันทร์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติ ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆ เพ ื่อขยาย อำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงตกลงรวมกำลัง เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักเพื่อเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองราชอาณาจักร    จากคำบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น หมู่บ้านนาทุ่มอาจเป็นชุมชนใดชุมชนหนึ่งที่ถูกจัดสรรปันที่ให้กลุ่มคนที่มา ช่วยกันก่อสร้างองค์พระธาตุศรีสองรัก เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงพากันลงหลัก