ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติศาสตร์หมู่บ้านจากคำเล่าขานรุ่นสู่รุ่น

เรามาย้อนอดีต ตามหาประวัติศาสตร์ที่ได้ฟังจากคำเล่าขานต่อๆกันมาค่ะ

หมู่บ้านนาทุ่ม หมู่ 11 ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย สันนิษฐานว่าถูกก่อตั้งมาแล้วกว่า 400 ปี หลังจากการสร้างพระธาตุศรีสองรักในปีพ.ศ. 2103 พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อ เป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา (สมัยพระมหาจักรพรรดิ) และกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือ เวียงจันทร์สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติ ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆ เพื่อขยาย อำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงตกลงรวมกำลัง เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักเพื่อเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองราชอาณาจักร 

 

จากคำบอกเล่าจากรุ่นสู่รุ่น หมู่บ้านนาทุ่มอาจเป็นชุมชนใดชุมชนหนึ่งที่ถูกจัดสรรปันที่ให้กลุ่มคนที่มา ช่วยกันก่อสร้างองค์พระธาตุศรีสองรัก เมื่อเสร็จสิ้นแล้วจึงพากันลงหลักปักฐานในบริเวณภูมิประเทศที่เป็นที่ราบ ลุ่มและที่ราบสูงเชิงเขาเพื่อทำการเกษตร มีแม่น้ำไหลผ่าน ชื่อ “นาทุ่ม” เป็นการตั้งตามชื่อต้นไม้ใหญ่ชนิดหนึ่งชื่อ “ต้นกระทุ่ม” ต้นกระทุ่ม เป็นไม้ต้นผลัดใบ ชอบแสงแดดขนาดกลางสูงประมาณ5 -18 เมตรลำต้นตั้งตรงเปลือกลำต้นมีลักษณะปุ่มปม แตกกิ่งสาขาต่ำใกล้ผิวดิน ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบเป็นรูปไข่ยาวประมาณ 5 - 12 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กลางทุ่งนา ชาวบ้านเรียก “ต้นโถ่มหรือต้นถ่ม” ต่อมาได้เพี้ยนเสียงตามยุคสมัยมาเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาของชื่อ "หมู่บ้านนาทุ่ม" ตามชื่อต้นไม้นี่เอง 



ทางเข้าหมู่บ้านนาทุ่ม หมู่ 11 ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย

-----------------------------------------------------------------------------

สอบถามข้อมูลหมู่บ้านเพิ่มเติมได้ที่

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านนาทุ่ม

ผู่ใหญ่ พัชรี เชื้อบุญมี

089-2755534 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นกระทุ่ม ที่มาของชื่อหมู่บ้านนาทุ่ม

ต้นกระทุ่ม ต้นกระทุ่ม มีสองสายพันธุ์ คือ กระทุ่มน้ำ และกระทุ่มบก ที่หมู่บ้านนาทุ่ม จากคำบอกเล่าของปูชนียบุคคล ทั้งหลายบอกว่าน่าจะเป็นกระ ทุ่มบก มีขนาดใหญ่มาก ขึ้นกลางท้องนา และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เจ้าของที่นาได้ตัดออก เพราะจะใช้พื้นที่ในการทำกา รเกษตร จึงทำให้ในปัจจุบัน หมู่บ้านนาทุ่ม ไม่ได้มีต้นกระทุ่มใหญ่อยู่ ค่ะ แต่สามารถพบเจอต้นกระทุ่มตา มป่าเขาที่ไกลออกไปจากหมู่บ ้าน  ภาษาบ้านถิ่นเราเรียกว่า ต้นถ่ม ต้นโถ่ม นาโถ่ม 

โรงสีข้าวชุมชน หมู่บ้านนาทุ่ม อ.ด่านซ้าย

โรงสีข้าวชุมชนหมู่บ้านนาทุ่ม หมู่ 11 อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย หมู่บ้านนาทุ่ม วันนี้ขอเสนอ "โรงสีข้าวชุมชน" หมู่บ้านนาทุ่ม มีโรงสีข้าวชุมชน 1 แห่ง ตั้งอยู่บ้านของผู้ช่วยผู้ใ หญ่บ้าน ผู้ที่มีหน้าที่สีข้าวคือหน ึ่งในคณะกรรมการหมู่บ้านหรื อใครว่างๆก็ช่วยกันค่ะ ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านและหม ู่บ้านใกล้เคียงมักจะนำข้าว มาสีที่นี่ค่ะ ชาวบ้านได้ข้าว แต่ชุมชนเราได้แกลบ ข้าวปลาย รำ ในส่วนนี้เราจะนำมาชั่งขายท ี่บ้านผู้ใหญ่บ้าน รายได้ทั้งหมดจะนำเข้ากองทุ นโรงสีข้าวของหมู่บ้านนาทุ่ ม ตัวเลขเพิ่มขึ้นทุกวัน วันละนิดละหน่อย แจกแจงผลประโยชน์ของหมู่บ้า นอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนค่ะ   ตัวอย่างเล้าข้าว หรือ ยุ้งฉาง เก็บข้าวของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านนาทุ่ม  ติดตามกันต่อได้ที่ เฟซบุ๊คแฟนเพจ : หมู่บ้านนาทุ่ม

โรงเรียนบ้านนาทุ่ม อ.ด่านซ้าย จ.เลย ความเกี่ยวเนื่องกับวัดน้อย ในอดีต

ป้ายโรงเรียนบ้านนาทุ่ม โรงเรียนบ้านนาทุ่ม เป็นโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา ในอดีต โรงเรียนนี้ใช้ร่วมกัน 4 หมู่บ้านใกล้เคียงคือ หมู่บ้านนาทุ่ม หมู่บ้านหนามแท่ง หมู่บ้านนาสีเทียน และหมู่บ้านห้วยอ้อย เด็กๆจะต้องเดินเท้ามาเรียน ผ่านเส้นทางลัดเลาะตามหุบเขา เพราะยังไม่มีการคมนาคมที่สะดวกเหมือนในปัจจุบัน สนามหญ้าโรงเรียนบ้านนาทุ่ม คุณยายเล่าว่า ในอดีต ใช้กระดานชนวนกับดินสอไม้ที่ทำจากถ่าน ใช้น้ำและผ้าลบ เวลาเรียนเสร็จ เขียนจบก็ลบออก ที่เหลือก็ต้องใช้วิธีการจำเอา คนสมัยก่อนจึงมีความจำเป็นเลิศ คิดเลขเร็ว ขาดก็แต่ทุนทรัพย์ที่จะเรียนต่อในระดับสูงกว่า ป.4 ค่ะ ชุดนักเรียนก็ใช้เตารีดที่ใส่ถ่านร้อนๆข้างในเพื่อรีดชุดให้เรียบ คุณยายเล่าว่า บางทีรีดไหม้ก็มี พระพุทธรูปประจำต้นโพธิ์ในโรงเรียนบ้านนทุ่ม (วัดเก่า) โรงเรียนบ้านนาทุ่ม ในอดีตเคยเป็นวัดเก่า มีต้นโพธิ์ใหญ่เป็นหลักฐาน มีพระพุทธรูปไม้แกะสลักที่โคน ต้นโพธิ์ สัญนิษฐานว่าที่แห่งนี้ คือ วัดน้อย ในอดีตเมื่อกว่า 400 ปี เพราะมีหนองน้ำสาธารณะคือ "หนองสิม" มีสิมอยู่กลางหนองน้ำ คำว่า "สิม" (สิม สีมา สิมมา พัทธสี