ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หน่อไม้บงหวาน ของดีของหมู่บ้านนาทุ่ม Sweet Bamboo

หน่อไม้หวาน (Sweet Bamboo) หรือหน่อไม้บงหวาน เป็นพืชเศรษฐกิจประจำหมู่บ้าน มีรสชาดหวานอันเป็นเอกลักษณ์โดยธรรมชาติ รับประทานดิบได้เนื่องจากนิยมปลูกกันมาช้านาน หน่อไม้บงหวานสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย หลายๆครอบครัวมีพื้นที่ติดแม่น้ำสาธารณะประจำหมู่บ้าน จึงจะเห็นต้นไผ่บงหวานเป็นทิวแถวตามรอยแม่น้ำพานไหลผ่านค่ะ 

หน่อไม้บงหวาน โดยปกติจะมีอายุเฉลี่ย 80 ปี คุณตาเล่าว่าทุกๆ 20 ปี มันจะออกดอกและตาย 1 ครั้ง จากนั้นเมล็ดที่แตกออกจากดอกไผ่เหล่ากอเดิม จะสามารถนำไปเพาะเป็นต้นอ่อนไผ่และมีอายุได้นาน 20 ปี วนเวียนจนครบรอบค่ะ


คุณตายังเล่าอีกว่า พอครบอายุ 20 ปีของไผ่ การขยายพันธุ์ไผ่บงหวาน ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม (เพาะเมล็ด แยกหน่อ ฯลฯ) ถ้าครบรอบแล้วก็จะแห้งตายยกสวนค่ะ ในส่วนของต้นไผ่หมู่บ้านนาทุ่ม คุณตาบอกว่าตั้งแต่เกิดมาก็เห็นตายอยู่ 2 ครั้งเท่านั้น (40 ปีที่ผ่านมา)




หน่อไม้บงหวานสด ขุดได้ช่วงหน้าฝน
หน่อไม้บงหวาน สีขาว กรอบ หวานตามธรรมชาติ


หน่อไม้บงหวานบ้านนาทุ่ม และพื้นที่ใกล้เคียงคือ ติดริมน้ำพาน หรือทางน้ำไหลตามธรรมชาติ (ริมแม่น้ำหมันก็มีปลูกเยอะ) จะเจริญเติบโตได้ดีบนพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทราย หน่อไม้หวานจะขาว อวบน้ำ และมีรสชาดหวานกรอบตามธรรมชาติ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีใดๆ ซึ่งหากนำไปเพาะเลี้ยงในพื้นที่ ที่มีดินไม่เหมาะสมหน่อไม้บงหวานก็จะไม่มีรสชาติหวาน และเนื้อหน่อไม้จะแข็งกระด้างไปเลย



หน่อไม้บงหวานเพาะจากเมล็ดและแยกหน่อขณะต้นอ่อน

หน่อไม้บงหวาน สามารถขยายพันธุ์ได้ 3 วิธีหลักคือ

การแยกหน่อ โดยแยกจากต้นขนาดใหญ่  แยกลำต้นออก ไปปลูกได้เลย

การแยกหน่อขณะต้นอ่อน  จะทำการคัดแยกเมื่อต้นไผ่ที่เพาะจากเมล็ดมีอายุเกิน 3 เดือนขึ้นไป  

การเพาะจากเมล็ด เมล็ดไผ่บงหวาน จะคล้ายเมล็ดข้าวสาร หากไม่ต้องการแยกหน่ออีกครั้งเมื่อต้นไผ่บงหวานเจริญเติบโต ก็จะนับจำนวนเมล็ดพันธุ์ หยอดใส่ถุงเพาะไปเลยค่ะ เช่นถุงละ 3 เมล็ด 5 เมล็ด เป็นต้น



หน่อไม้บงหวาน วางขายหน้าบ้านของแต่ละคน

การเพาะปลูกพันธุ์ "หน่อไม้บงหวาน" เป็นอาชีพเสริมของคนในหมู่บ้านนาทุ่ม ทำกันหลายครัวเรือน สร้างรายได้เสริมต่อปีหลายหมื่นบาทต่อครัวเรือน

สามารถเลือกซื้อกันได้ในราคาเริ่มต้นเพียงต้นละ 10 บาทเท่านั้นค่ะ

--------------------------------------------------------
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านนาทุ่ม หมู่ 11 ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย 
ผู้ติดต่อ             : นางพัชรี เชื้อบุญมี (ผู้ใหญ่บ้านนาทุ่ม)
หมายเลขติดต่อ  :  042891765, 0892755534, 0985896912

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ต้นกระทุ่ม ที่มาของชื่อหมู่บ้านนาทุ่ม

ต้นกระทุ่ม ต้นกระทุ่ม มีสองสายพันธุ์ คือ กระทุ่มน้ำ และกระทุ่มบก ที่หมู่บ้านนาทุ่ม จากคำบอกเล่าของปูชนียบุคคล ทั้งหลายบอกว่าน่าจะเป็นกระ ทุ่มบก มีขนาดใหญ่มาก ขึ้นกลางท้องนา และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เจ้าของที่นาได้ตัดออก เพราะจะใช้พื้นที่ในการทำกา รเกษตร จึงทำให้ในปัจจุบัน หมู่บ้านนาทุ่ม ไม่ได้มีต้นกระทุ่มใหญ่อยู่ ค่ะ แต่สามารถพบเจอต้นกระทุ่มตา มป่าเขาที่ไกลออกไปจากหมู่บ ้าน  ภาษาบ้านถิ่นเราเรียกว่า ต้นถ่ม ต้นโถ่ม นาโถ่ม 

โรงเรียนบ้านนาทุ่ม อ.ด่านซ้าย จ.เลย ความเกี่ยวเนื่องกับวัดน้อย ในอดีต

ป้ายโรงเรียนบ้านนาทุ่ม โรงเรียนบ้านนาทุ่ม เป็นโรงเรียนระดับอนุบาลและประถมศึกษา ในอดีต โรงเรียนนี้ใช้ร่วมกัน 4 หมู่บ้านใกล้เคียงคือ หมู่บ้านนาทุ่ม หมู่บ้านหนามแท่ง หมู่บ้านนาสีเทียน และหมู่บ้านห้วยอ้อย เด็กๆจะต้องเดินเท้ามาเรียน ผ่านเส้นทางลัดเลาะตามหุบเขา เพราะยังไม่มีการคมนาคมที่สะดวกเหมือนในปัจจุบัน สนามหญ้าโรงเรียนบ้านนาทุ่ม คุณยายเล่าว่า ในอดีต ใช้กระดานชนวนกับดินสอไม้ที่ทำจากถ่าน ใช้น้ำและผ้าลบ เวลาเรียนเสร็จ เขียนจบก็ลบออก ที่เหลือก็ต้องใช้วิธีการจำเอา คนสมัยก่อนจึงมีความจำเป็นเลิศ คิดเลขเร็ว ขาดก็แต่ทุนทรัพย์ที่จะเรียนต่อในระดับสูงกว่า ป.4 ค่ะ ชุดนักเรียนก็ใช้เตารีดที่ใส่ถ่านร้อนๆข้างในเพื่อรีดชุดให้เรียบ คุณยายเล่าว่า บางทีรีดไหม้ก็มี พระพุทธรูปประจำต้นโพธิ์ในโรงเรียนบ้านนทุ่ม (วัดเก่า) โรงเรียนบ้านนาทุ่ม ในอดีตเคยเป็นวัดเก่า มีต้นโพธิ์ใหญ่เป็นหลักฐาน มีพระพุทธรูปไม้แกะสลักที่โคน ต้นโพธิ์ สัญนิษฐานว่าที่แห่งนี้ คือ วัดน้อย ในอดีตเมื่อกว่า 400 ปี เพราะมีหนองน้ำสาธารณะคือ "หนองสิม" มีสิมอยู่กลางหนองน้ำ คำว่า "สิม" (สิม สีมา สิมมา พัทธสี

โรงสีข้าวชุมชน หมู่บ้านนาทุ่ม อ.ด่านซ้าย

โรงสีข้าวชุมชนหมู่บ้านนาทุ่ม หมู่ 11 อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย หมู่บ้านนาทุ่ม วันนี้ขอเสนอ "โรงสีข้าวชุมชน" หมู่บ้านนาทุ่ม มีโรงสีข้าวชุมชน 1 แห่ง ตั้งอยู่บ้านของผู้ช่วยผู้ใ หญ่บ้าน ผู้ที่มีหน้าที่สีข้าวคือหน ึ่งในคณะกรรมการหมู่บ้านหรื อใครว่างๆก็ช่วยกันค่ะ ซึ่งชาวบ้านในหมู่บ้านและหม ู่บ้านใกล้เคียงมักจะนำข้าว มาสีที่นี่ค่ะ ชาวบ้านได้ข้าว แต่ชุมชนเราได้แกลบ ข้าวปลาย รำ ในส่วนนี้เราจะนำมาชั่งขายท ี่บ้านผู้ใหญ่บ้าน รายได้ทั้งหมดจะนำเข้ากองทุ นโรงสีข้าวของหมู่บ้านนาทุ่ ม ตัวเลขเพิ่มขึ้นทุกวัน วันละนิดละหน่อย แจกแจงผลประโยชน์ของหมู่บ้า นอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนค่ะ   ตัวอย่างเล้าข้าว หรือ ยุ้งฉาง เก็บข้าวของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านนาทุ่ม  ติดตามกันต่อได้ที่ เฟซบุ๊คแฟนเพจ : หมู่บ้านนาทุ่ม